“Funeral Plans (ฟิว-เนอ-รัล-แพลน)” คือ ออแกไนซ์ ที่รับวางแผน และจัดการพิธีศพ (Funeral Director)

“ขอร่วมแสดงความเสียใจ หากท่านกำลังสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก”

เราช่วยให้คำแนะนำ บริการวางแผนงานศพล่วงหน้า และรับจัดงานศพ ตั้งแต่การเคลื่อนย้าย ขั้นตอนการสวดพระอภิธรรม และขั้นตอนฌาปนกิจ จนกระทั่งพิธีลอยอังคาร ตามงบประมาณหรือแพคเกจค่าใช้จ่ายงานศพ ที่กำหนดไว้ คลอบคลุมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆในพิธี ได้แก่ ดอกไม้งานศพประดับหีบ ดอกไม้ประดับเมรุ เครื่องไทยธรรม อาหารจัดเลี้ยง ของชำร่วยงานศพ โกศ ปัจจัยถวายพระสงฆ์ ค่าบำรุงวัด ฯลฯ เพื่อให้พิธีเกิดความสมบูรณ์ และมีคุณค่าต่อจิตใจ

เรายินดี อำนวยความสะดวกแก่เจ้าภาพที่อยู่ในช่วงเวลาสับสน เศร้าโศกหรือ ไม่พร้อมในการดำเนินการด้วยตัวเอง สืบเนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพสังคมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเพราะเรา “เข้าใจ”เพราะเรารู้ว่า แต่ละคนนั้นมีความต้องการ และ เหตุผล ที่ต่างกันไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด

ทำไมหลายครอบครัว ถึงจ้างออแกไนซ์จัดงานศพ

  • ขนาดของสมาชิกในครอบครัวมีขนาดเล็กลง
  • การดำเนินงานด้วยตัวเองอาจจะไม่สะดวก, ติดกิจธุระ
  • ไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจว่าขั้นตอนต่างๆจะต้องทำอย่างไร
  • สภาพจิตใจ และอารมณ์ ที่ไม่พร้อม
  • ต้องการความสะดวก ต้องการสร้างความประทับใจอย่าง
  • มีคนคอยให้คำปรึกษาด้านขั้นตอนพิธีศพ ไม่ต้องวิตกกังวล
  • จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ ดอกไม้ พวงหรีด และของชำร่วยต่าง ๆ
  • จัดเตรียมอาหารต้อนรับ
  • ต้องการควบคุมค่าใช้จ่าย
  • สามารถออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีได้

ให้เราดูแลและบริการคุณ ด้วยทีมงานมืออาชีพ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และสร้างความประทับใจแก่เจ้าภาพ และแขกที่มาร่วมงาน

สนใจใช้บริการรับจัดงานศพ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://funeral.in.th/จัดงานศพ

🔰ติดต่อ Funeral Plans
โทร: 06-4289-6394
Line id: @funeralservice
FB inbox: m.me/funeral.th

 

 

รับจัดงานศพ แพคเกจงานศพ ออแกไนซ์งานศพ ฟิวเนอรัลแพลน 5

คำแนะนำจากเรา

สิ่งที่ต้องดำเนินการเมื่อมีผู้เสียชีวิต

1. การขอหนังสือรับรองการเสียชีวิต เพื่อนำไปแจ้งเสียชีวิต/แจ้งตาย

  • ถ้าเสียชีวิตในโรงพยาบาล แพทย์ประจำโรงพยาบาลนั้น จะเป็นผู้ออกให้ถ้าเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล ให้ทำการแจ้งต่อพนักงาน
  • สอบสวนท้องที่ที่พบศพ หรือแจ้งต่อกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อนามัย หรือแพทย์ประจำตำบลที่พบศพ เพื่อให้ออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต

2. การแจ้งตาย เพื่อขอรับใบมรณบัตร นำไปเคลื่อนย้ายศพ

  • ต้องแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมง หลังเสียชีวิต
  • ให้ญาติติดต่อกับเขต หรือ อำเภอท้องที่ที่พบศพ
  • เจ้าหน้าที่จะสอบถามสถานที่นำศพไปไว้ หรือทำพิธีศพ ญาติต้องติดต่อสถานที่ไว้ศพให้เรียบร้อยมิฉะนั้นถ้าเปลี่ยนใจภายหลังจะต้องไปยื่นคำร้องที่เขตหรือ อำเภอ ซึ่งสถานที่ประกอบพิธีศพใหม่ตั้งอยู่
  • เอกสารที่จะต้องเตรียมไปได้แก่
    • หนังสือรับรองการเสียชีวิต
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียชีวิต ถ้าเป็นชาวต่างชาติต้องมีใบต่างด้าว
  • เมื่อแจ้งตายแล้วเจ้าหน้าที่งานทะเบียนราษฎร์จะออกใบมรณบัตรให้เก็บไว้เป็นหลักฐานและใช้ในการเคลื่อนย้ายศพไปทำพิธีทางศาสนา

3. การจัดการกับศพ

  • ติดต่อเรื่องโลงศพและการฉีดยาคงสภาพศพ กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือวัด
  • พิธีศพชาวมุสลิมให้ติดต่อจุฬาราชมนตรี หรือมัสยิดในท้องที่ที่พบศพ เพื่อรับรองว่าเป็นศพมุสลิม ในกรณีจะรีบนำศพออกจากโรงพยาบาล และไม่ขอผ่าชันสูตร
  • จัดหาสิ่งจำเป็น
    • ภาพถ่ายของผู้เสียชีวิตสำหรับตั้งบำเพ็ญกุศล
    • ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้า เครื่องแบบ
    • ประวัติผู้เสียชีวิต หากติดต่อกองพระราชพิธี หรือจัดนิทรรศการ
    • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ค่าพิธีศพ
    • เตรียมของที่ระลึกในงาน

4. การติดต่อญาติมิตร

  • สื่อที่จะใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ บัตรเชิญ
  • ข้อความเจ้งที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ชื่อผู้เสียชีวิต เวลา วัน และสถานที่ในการประกอบพิธีศพ

5. กรณีขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ต้องติดต่อกองพระราชพิธี

6. ติดต่อเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา

7. ถ้าผู้เสียชีวิตมีมรดก ให้ติดต่อทนายความและจัดตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อแบ่งทรัพย์สิน และตรวจสอบว่าผู้เสียชีวิตมีประกัน หรือสวัสดิการ บำนาญ หรือผลประโยชน์อื่นๆหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ติดต่อผู้เกี่ยวข้องในส่วนนั้นๆ

8. หากผู้เสียชีวิตบริจากร่างกายให้โรงพยาบาล ให้ติดต่อที่โรงพยาบาลนั้นๆหมายเหตุ กรณีไม่มีบัตรประชาชน หรือ ทะเบียนบ้าน ให้ติดต่อกองบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร์


รับจัดงานศพ แพคเกจงานศพ ออแกไนซ์งานศพ ฟิวเนอรัลแพลน 4

รายละเอียดเพิ่มเติม

🍀Funeral Plans🍀https://funeral-plans.online
👉บริการให้คำแนะนำ และจัดการวางแผนงานศพล่วงหน้า
👉รับจัดงานศพตามงบประมาณที่ต้องการ
👉รับจัดงานศพแบบเหมาจ่ายเป็นแพคเกจ
👉มีทีมงานด้านกฎหมายรองรับ กรณีจัดการมรดก หรือ พินัยกรรม

คำถามที่พบบ่อย
📍ขั้นตอนที่ต้องทำเมื่อมีผู้เสียชีวิต ต้องทำอย่างไรบ้าง
📍แพคเกจ รับจัดงานศพ คืออะไร
📍ตัวอย่างรายการ ค่าใช้จ่ายงานศพ เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม มีค่าใช้จ่ายอย่างไร
📍ขั้นตอนสวดอภิธรรม เริ่มสวดอภิธรรมเวลากี่โมง
📍ขั้นตอนงานฌาปนกิจ เขียนประวัติผู้วายชนม์อย่างไรดี

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในพิธีศพของศาสนาพุทธ

การอาบน้ำศพในกรณีศพที่มีสภาพเรียบร้อย จากป่วยตายตามธรรมดาหรือชราภาพ ก็นิยมทำการอาบน้ำศพ เว้นแต่ศพตายจากอุบัติเหตุที่รูปร่างเสียไปมาก ก็ไม่นิยมทำการอาบน้ำศพปกติการอาบน้ำศพ ถ้าเสียชีวิตที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะทำการอาบน้ำให้ แต่ในกรณีเสียชีวิตที่บ้านญาติจะอาบน้ำศพ ซึ่งนิยมทำกันเป็นการภายใน ไม่ได้เชิญแขกภายนอกมาร่วมด้วย  การอาบน้ำศพนิยมอาบด้วยน้ำอุ่นแล้วฟอกสบู่ แล้วก็ตามด้วยน้ำเย็น อาจมีการใช้ขมิ้นทาตัว ใช้ผ้าขาวขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้าซับฝ่ามือฝ่าเท้า ใบหน้า เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้วก็ทำการแต่งกายโดยสวมชุดที่ผู้ตายชอบใส่ หรือแต่งกายตามฐานะ เป็นข้าราชการก็อาจแต่งเครื่องแบบ แล้วตั้งศพบนเตียงเพื่อรอการรดน้ำในพิธีศพต่อไปการจัดสถานที่รดน้ำศพสถานที่รดน้ำศพควรเป็นสถานที่กว้างพอสมควรกับจำนวนแขกและเพียงพอตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้ อาจจะรดน้ำศพที่บ้านก็ได้ แต่หากไม่สะดวกก็สามารถรดน้ำศพที่วัด โดยติดต่อแผนกฌาปนสถานการจัดโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนิยมหันไปทางทิศตะวันออก โต๊ะหมู่จะตั้งด้านหน้าของศพ หรือตั้งด้านหัวของศพ และให้ตั้งสูงกว่าเตียงประดิษฐานของศพโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 5 ประการคือ

  • พระพุทธรูป 1 องค์
  • กระถางธูป 1 ใบ พร้อมธูป 3 ดอก
  • เชิงเทียน 1 คู่
  • แจกัน 1 คู่ พร้อมดอกไม้
  • โต๊ะรอง 1 หมู่

ตำแหน่งที่ตั้งเตียงประดิษฐานสำหรับรดน้ำศพเตียงประดิษฐานรดน้ำศพ นิยมตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ด้านบนศีรษะของศพ จัดร่างศพให้นอนหงายเหยียดยาว แล้วใช้ผ้าคลุมร่าง เว้นใบหน้าและมือขวา โดยจัดมือขวาให้เยียดออกมาจากตัวเล็กน้อย และให้หงายมือ  จากนั้นให้เตรียมขันน้ำและพานรองน้ำอบ หรือน้ำหอม ผสมน้ำให้บุตรหลานคอยส่งภาชนะสำหรับรดน้ำให้ผู้มารดน้ำศพการรดน้ำศพเจ้าภาพจะทำการสักการะบูชาพระรัตนตรัย แล้วทำการรดน้ำศพในหมู่ญาติ แล้วจึงค่อยเชิญแขก และผู้อาวุโสสูงสุดเป็นท่านสุดท้ายสถานที่จัดตั้งศพให้คำนึงถึงพื้นที่เป็นอันดับแรกว่าเหมาะกับการตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้เป็นเวลานาน จนถึงพิธีพระราชทานเพลิงศพ หรือพิธีฌาปนกิจศพหรือไม่   สถานที่ตั้งศพเพื่อจัดพิธีศพควรเป็นสถานที่เฉพาะ ที่จะมีเพียงผู้มีความประสงค์จะเคารพศพเท่านั้นที่เข้าไป จะต้องจัดเตรียมตำแหน่งและอุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับศพ ดังนี้

  • โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
  • อาสนะสงฆ์สำหรับพระสงฆ์สวดอภิธรรม
  • ตำแหน่งที่ตั้งศพ
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์
  • รูปผู้เสียชีวิต
  • อุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธี

ตำแหน่งที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยโต๊ะหมู่บูชานี้มักจะใช้ชุดเดียวกันกับชุดที่ใช้ในพิธีรดน้ำศพ โดยตั้งไว้ด้านศีรษะศพ หันไปทางทิศตะวันออก หรือทิศอื่น แต่ไม่นิยมหันไปทางทิศตะวันตก  โต๊ะหมู่บูชาจะตั้งอยู่ด้านขวามือของพระสงฆ์ ซึ่งนั่งสวดพระอภิธรรมโดยให้ตำแหน่งสูงกว่าอาสนะสงฆ์ และสูงกว่าที่ตั้งศพพอควรตำแหน่งที่ตั้งอาสนะสงฆ์สำหรับพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมนิยมให้อาสนะสงฆ์สูงหว่าพื้น 1 ศอก โดยอยู่ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป และจัดตั้งตู้พระอภิธรรมไว้บนอาสนะสงฆ์ข้างหน้าพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเครื่องสักการะบูชาพระอภิธรรมที่จัดไว้มีดังนี้

  • กระถางธูป 1 ใบ พร้อมธูป 3 ดอก
  • เชิงเทียน 1 คู่ พร้อมเทียนขนาดพอสมควร
  • แจกัน 1 คู่

ควรตั้งเครื่องสักการะบูชาพระอภิธรรมไว้บนโต๊ะสูงระดับเดียวกับอาสนะสงฆ์ หรือสูงกว่าอาสนะสงฆ์ ซึ่งต้องไม่สูงกว่า หรือต่ำกว่ามากนัก เพราะหากต่ำกว่าก็จะไม่เหมาะสม และหากสูงเกินไปก็จะทำให้บังพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม เพราะจะต้องตั้งไว้ด้านหน้าของอาสนะสงฆ์ตำแหน่งที่ตั้งศพศีรษะศพหันไปทางโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป ให้ต่ำกว่า หรืออยู่ในระดับเดียวกับโต๊ะหมู่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้นำเครื่องราชอิสริยาภรณ์วางบนหมอนรอง ใส่พาน แล้วนำมาตั้งไว้ที่ข้างหน้าศพ ไว้ด้านศีรษะของศพ หรือหน้ารูปผู้ตายเครื่องแบบในกรณีผู้ตายเป็นข้าราชการให้นำเครื่องแบบมาใส่พาน แล้วตั้งไว้หน้าศพ ถัดลงมาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์รูปผู้ตายให้ตั้งไว้ด้านเท้าของศพ ให้รูปมีขนาดใหญ่พอควรอุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธีศพอุปกรณ์ที่ควรจัดเตรียมไว้มีดังนี้

  • ผ้าภูษาโยง
  • สายสิญจน์
  • เครื่องทองน้อย
  • ภาชนะสำหรับกรวดน้ำ
  • เครื่องสักการะบูชาศพ
  • กระถางธูปขนาดใหญ่ พร้อมตะเกียงเล็ก 1 ชุด
  • โต๊ะรองกราบ 1 ตัว

สายสิญจน์ จะผูกข้อมือศพ ตอนมัดตราสังข์ ซึ่งจะทอดมาจากปากหีบแล้วจากนั้นจะผูกกับ ผ้าภูษาโยง ทอดผ้าภูษาโยงมายังหัวอาสนะสงฆ์ ผ้าภูษาโยงใช้ทอดผ้าบังสุกุลแลทอดให้พระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเครื่องทองน้อยจัดไว้หน้าศพเพื่อให้ผู้ตายบูชาพระธรรม และจัดอีกที่หนึ่งเพื่อให้ประธานในพิธีจุดบูชาพระธรรมเมื่อมีพระธรรมเทศนาภาชนะกรวดน้ำ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายเมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาเครื่องสักการะบูชาศพ 1 ชุด จัดไว้ที่โต๊ะเครื่องตั้งหน้าศพ สำหรับประธานในพิธี หรือเจ้าภาพจุดบูชาก่อนที่จะบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ ประกอบไปด้วย

  • กระถางธูป 1 ใบ พร้อมด้วยธูป 1 ดอก
  • เชิงเทียน 1 คู่ พร้อมเทียน 2 เล่ม
  • แจกัน 1 คู่ พร้อมดอกไม้

ประเพณีของชาวพุทธในสมัยโบราณมีรายละเอียดยุ่งยากมาก แต่ปัจจุบันการจัดพิธีศพได้ตัดขั้นตอนออกไปหลายอย่าง ไม่เคร่งครัดเหมือนก่อน เช่น การนุ่งผ้าศพกลับข้าง การใช้ทองปิดหน้า ขี้ผึ้งปิดตาศพ การเบิกโลงศพด้วยเครื่องเซ่น การใส่เงินปากผี การใส่ใบชา ขี้ธูป กระดาษฟางเพื่อซับน้ำเหลืองจากศพ การใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพก่อนเผา การตามไฟหน้าศพ การจุพลุ การเดินสามหาบ เป็นต้นวันห้ามเผาศพวันห้ามเผาศพคือวันศุกร์ แต่บางแห่งอาจจะไม่เผาวันพฤหัสบดี และวันพระ  สำหรับศพพระราชทานจะไม่พระราชทานเพลิงในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาและวันฉัตรมงคล